ข้อแนะนำสำหรับ webmaster โดย google ตอนที่ 1

อ่านข่าวจากฺ  Blog ของ นาย Mutt Cutts วิศวกรด้านซอฟแวร์ของ Google ออกมาเผยรายละเอียดของการแบนผลค้นหาของเว็บไซต์ bmw.de บน Google ในเรื่องการที่เว็บนี้ทำ Cloaking และทำให้การนำเสนอเนื้อหาของหน้าเว็บไม่ตรงกับที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลของ Google เลยนึกถึงบ้านเราที่ทำ Search Spam หรือโกงผลค้นหาบน Search Engine ด้วยวิธีต่าง ๆ นา ๆ จึงอยากเก็บข้อแนะนำที่ Google ได้ประกาศไว้เพื่อเป็นแนวทางในการทำหรือหลีกเลี่ยงที่จะทำสำหรับ webmaster ทั้งหลายที่ทำเว็บ โปรโมทเว็บกันอยู่

ว่าด้วยเรื่องการออกแบบและเนื้อหาบนเว็บ

Google ได้ให้ข้อแนะนำในการออกแบบเว็บไซต์และการนำเสนอเนื้อหาบนเว็บไว้ดังนี้

  • ทำเว็บไซต์ของคุณให้มีโครงสร้างและ Text link ที่ชัดเจน และทุกหน้าควรมี link ที่นำไปสู่หน้า Static Page อย่างน้อยหนึ่งหน้า ดังนั้น ใครที่กำลังทำไดนามิกเว็บไซต์คงต้องกลับมามองเพจเพจที่เป็น Static webpage ดูบ้างครับ
  • ทำ sitemap ที่ประกอบไปด้วย link ที่นำไปสู่หน้าหลักสำคัญของเว็บไซต์ โดย site map นั้นควรมี link ไม่เกิน 100 link ในหนึ่งหน้า ถ้าเกินก็ควรแบ่งเป็นหลายหน้า
  • สร้างเว็บไซต์หรือเว็บเพจแบบ information-rich หรือ เน้นเนื้อหาจริง ๆ ถูกต้องและชัดเจน ฉะนั้น เว็บไซต์ที่มีลูกเล่นเทคนิคบนเว็บแพรวพราวแต่เนื้อหากระจิดริดคงไม่ใช่สิ่งที่ google อยากแนะนำนัก
  • ก่อนเขียนเนื้อหาหรือคำใดลงบนเว็บเพจ ควรคิดเสียก่อนว่าผู้ใช้จะใช้คำใดบ้างในการค้นหาเว็บ แล้วจึงนำคำนั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาบนเว็บเพจ
  • พยายามใช้ “ตัวหนังสือ(text)” มาแสดงในส่วนสำคัญของเนื้อหาในเว็บเช่น เนื้อเรื่อง หรือ ชื่อหรือ link แทนการใช้ Image หรือ รูปภาพ เช่นหากหน้าเว็บคุณนำเสนอเรื่องของ ” เที่ยวระยอง ” คุณก็ควรใช้คำว่า ” เที่ยวระยอง ” แทนการใช้รูปภาพที่มีคำวว่า เที่ยวระยอง
    เนื่องจาก Google Spider จะไม่เข้าใจเนื้ออความใน image นั้น
  • ข้อความในแท็ก<TITLE >และ ALT จะต้องเป็นข้อความที่อ่านแล้วได้ใจความและถูกต้อง TITLE คือเนื้อความที่ปรากฏอยู่บนสุดของบราวเซอร์ที่คุณใช้อยู่นั่นแหละครับสำหรับหน้านี้คือ “From Google Webmaster Guideline” ส่วน ALT คำอธิบายภาพที่เมื่อเอา mouse ไปวางบนรูปก็จะปรากฏคำอธิบายขึ้นมา่อย่างเช่่น อย่าง Image เอา mouse มา่ชี้ก็จะแสดงคำว่า “image “
  • ตรวจสอบว่ามี link เสียหรือคลิ๊ก link แล้วไม่มี link ที่ว่านั่น รวมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของไวยกรณ์ใน HTML
  • สำหรับพวกไดนามิกเว็บไซต์อย่างเช่นพวกเว็บไซต์ php, asp, aspx ฯลฯ ซึ่งมีี parameter(URL ที่มีเครื่องหมาย ? )ก็ควรทำให้มีจำนวน parameter น้อย ๆ ไว้เพราะ Search Engine ส่วนใหญ่ไม่สามารถเก็บหน้าเว็บที่มี parameter มากๆได้เท่ากับหน้าที่เป็น Html ตัวอย่างของ URL ที่มี parameter มากเช่น www.thinkandclik.com/index.php?view=activity;sub=detail;sub1=detail ฯลฯ
  • จำนวน link ในเว็บหนึ่งหน้าไม่ควรเกิน 100 links

ข้อแนะนำด้านเทคนิคจาก Google Webmaster Guidelines

  1. Google ได้แนะนำว่าในการตรวจสอบเว็บไซต์ว่า Search Engine เก็บเนื้อหาอะไรบ้างในเว็บเพจหนึ่งๆ โดยลองใช้ Text Browser เช่น Lynx ซึ่่งเป็น browser ที่เก็บข้อมูลแบบ Text ของเว็บเพจหน้านั้น ๆ ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่ บราวเซอร์ Lynx นั้นเก็บ Text ทังหมดของหนเ้าเว็บเพจดังภาพข้างล่าง โดยที่ภาพบนเป็นหน้าแรกของ thinkandclick.com ซึ่งแสดงบน IE ส่วนภาพถัดลงไปเป็นการแสดงผลผ่าน Lynx ซึ่งมีแต่ Text เท่านั้น
  2. การใช้ Session IDs ในเว็บเพจอาจจะทำให้ Search Engine Bots ไม่สามารถทำ Index หรือประมวลผลและเก็บข้อมูลของเว็บเพจนั้นได้ครบหรือ่ถูกต้อง เพราะทุกครั้งมีการเรียกเว็บเพจที่มีการใช้ Session IDs ก็จะได้ URL ที่ต่างกันออกไปทั้งที่จริงแล้วเป็นเว็บเพจหน้าเดียวกัน เช่น URL จริงของเว็บเพจคือ
    ——
    www.thinkandclick.com/index.php แต่ URL ที่ได้ กับเป็นwww.thinkandclick.com/index.php?PHPSESSID=9ee72600fd6463aff1f2cd73bb30f948 และทุกครั้งที่เรียก URL นี้ก็จะได้ PHPSESSIONID ที่ต่างไปทำให้ search engine มองเห็นเป็น URL ที่ต่างกัน
    ——
  3. การใช้ server ที่สนับสนุน ” If-Modified-Since HTTP header” ทำให้ google รู้ได้ว่า เนื้อหาในเว็บเพจหน้านั้น ๆ ได้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่นับตั้งแต่การเข้ามาเยี่ยมเยือนของ google ครั้งที่แล้ว ซึ่งปัจจุบัน server ส่วนใหญ่สนับสนุนฟังก์ชั่นนี้อยู่แล้ว
  4. หากต้องการไม่ให้ google bot ไปเก็บข้อมูลเว็บเพจในหน้าใดหรือ directory ใดก็ควรสร้างไฟล์ robots.txt ไว้ด้วย
  5. หากท่านใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือระบบ CMS (Content Management System) ต้องแน่ใจก่อนเสียก่อนว่าระบบนั้นยังคงทำให้ Search Engine เข้าไปเก็บหน้าเว็บเพจ(Crawl)ของท่านได้
  6. อย่าใช้พารามิเตอร์ “&id=” ใน URL ของคุณเพราะ google ไม่ทำการ index หน้านั้น

สำหรับ Guideline ที่นำมาลงเป็นข้อแนะนำในการทำเว็บไซต์โดยทั่วไป ใน guideline ของ google ยังมีในส่วนของการทำเว็บไซต์อย่างมีคุณภาพและข้อห้ามที่น่าสนใจไว้ด้วยซึ่งทางเราจะเสนอในตอนหน้า ข้อแนะนำสำหรับ webmaster โดย google ตอนจบ ครับ

หมายเหตุ : วันที่นำ Google Webmaster Guideline ลงนี้คือวันที่ 7 ก.พ. 2549 ซึ่งเป็น guideline ล่าสุด อาจเปลี่ยนได้ในอนาคตหากสนใจเข้าไปดูได้ที่ http://www.google.com/webmasters/guidelines.html ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษครับ (เพิ่มเติม ปัจจุบัน ปี 2565 มี ภาษาไทยแล้วครับ >

 

โดย mr.diy-seo thinkandclick.com (07 ก.พ. 2549)

*****

เรื่องเก่าจากเว็บไซต์ของครูบอย – thinkandclick dot com (ย้อนดู ต้นฉบับ > https://web.archive.org/web/20120118063909/http://www.thinkandclick.com/seo-tips/google-guideline.php )

One thought on “ข้อแนะนำสำหรับ webmaster โดย google ตอนที่ 1

  1. Pingback: ข้อแนะนำสำหรับ Webmaster โดย Google ตอนจบ - ( Google Webmaster Guidelines 2 ) - Digital Marketing Matters! by KruboyDigital Somkiat Lilitprapun

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *